ในการส่งยางออกนอกราชอาณาจากนั้น สินค้ายางพารามีหน่วยงานหลักที่ควบคุมจำนวน 2 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และทั้ง 2 หน่วยงานได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้า เพื่อตรวจใบอนุญาต 100% อย่างเป็นทางการแล้ว ดังนั้น การขอใบอนุญาตจากทั้ง 2 หน่วยงาน ผู้ส่งออกจะต้องทำการระบุข้อมูลในการขอใบอนุญาตให้ตรงกัน มิฉะนั้นกรมศุลกากรจะไม่สามารถออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกได้
ข้อมูลที่พบว่าเกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้งในการระบุข้อมูลในใบรับค่าธรรมเนียม ของ กยท. เปรียบเทียบกับข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และข้อมูลใบผ่านด่าน ของ กรมวิชาการเกษตร
|
ข้อมูล |
สาเหตุ |
แนวทางการแก้ไข |
1 |
เลขที่ใบอนุญาต
(License No.) |
- ระบุเลขที่ใบอนุญาตผิด
- มีการใส่คำว่า เลขที่ใบรับเงิน, ลว., ลงวันที่, ใบเสร็จกองทุน เป็นต้น
|
ให้ทำการระบุเฉพาะข้อมูลเลขที่ใบอนุญาตเท่านั้น เช่น "ERC19014-59/40723 |
2 |
หน่วยของปริมาณ
(Quantity Unit) |
- ข้อมูลหน่วยของปริมาณที่ขออนุญาตในใบผ่านด่าน และการขอชำระค่าธรรมเนียมไม่ตรงกัน
ตัวอย่าง
- ใบผ่านด่าน ระบุหน่วยของปริมาณ : KGM
- ใบชำระค่าธรรมเนียม ระบุหน่วยของปริมาณ : BL
|
- หากพบว่าข้อมูลใน "ใบผ่านด่าน ไม่ถูกต้อง: ติดต่อ กรมวิชาการเกษตร
- หากพบว่าข้อมูลใน "ใบรับค่าธรรมเนียม ไม่ถูกต้อง: ติดต่อ การยางแห่งประเทศไทย เพื่อยกเลิก และขอคืนเงินค่าธรรมเนียม จากนั้นจึงจัดทำใบรับค่าธรรมเนียมฉบับใหม่อีกครั้ง |
3 |
รหัสพิกัด
(Tariff Code) |
- ข้อมูลรหัสพิกัดที่ขออนุญาตในใบผ่านด่าน และการขอชำระค่าธรรมเนียมไม่ตรงกัน
|
4 |
เลขที่บัญชีราคาสินค้า
(Invoice No.) |
- จำนวนการเคาะเว้นวรรคไม่ตรงกัน
ตัวอย่าง TSD 083/2016 และ TSD 083/2016
- พิมพ์เครื่องหมายต่างๆ เช่น "/, "-", "_ ไม่ตรงกัน
ตัวอย่าง YR/16-012 และ YR16-012
|
*** ข้อมูลที่ระบุในใบรับชำระค่าธรรมเนียม (การยางแห่งประเทศไทย),
ใบผ่านด่าน (กรมวิชาการเกษตร) และใบขนสินค้าขาออก (กรมศุลกากร) จะต้องตรงกัน ***