กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ >> ข่าวประชาสัมพันธ์

กยท. เน้นหลักปฏิบัติการผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน GAP (6/06/60)


วันที่ 6 มิ.ย. 2560

t20170607094358_16846.jpg
t20170607094646_16847.jpg
           การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพดีจากแปลงของเกษตรกรโดยตรง โดยใช้หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมหรือหลัก Good Agricultural Practice (GAP) เริ่มตั้งแต่การจัดการสวนยางก่อนและหลังเปิดกรีด การกรีดยางที่ถูกวิธี การผลิตยางก้อนถ้วยตามคำแนะนำ การรวบรวมการจัดเก็บ การขนส่งยางก้อนถ้วยไปยังจุดรวบรวมยาง รวมทั้งการประเมินหาค่าปริมาณเนื้อยางแห้ง เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาการผลิตยางก้อนถ้วยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สามารถสร้างอำนาจการต่อรองกับผู้ซื้อ เนื่องจากเกษตรกรมักถูกกดราคาไม่น้อยกว่า 10 % ของราคาอ้างอิง สาเหตุหลัก ๆ จากไม่มีอำนาจต่อรองและการที่ผู้ซื้อกดราคาจากปัจจัยความเสี่ยงในระหว่างการขนส่งและสิ่งแปลกปลอมหรือปริมาณซัลเฟตที่ตกค้างอยู่ในก้อนยาง
           เกษตรกรที่ผลิตยางก้อนถ้วยที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน GAP ส่งขายให้กับจุดรวบรวมยางจะทำให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายยาง เป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากผู้ซื้อและได้รับในราคาที่สูงขึ้น
           และปัจจุบันมีการจำหน่ายสารจับตัวยางมากมายตามท้องตลาดทั้งทางภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคตะวันออก กยท. ทุกจังหวัดได้พยายามประชาสัมพันธ์และแนะนำให้ใช้กรดฟอร์มิค แต่ก็ยังคงพบกรดซัลฟิวริค เกลือแคลเซียมคลอไรด์ กรดที่อ้างว่าเป็นกรดอินทรีย์ กรดชีวภาพ กรดออร์แกนิค เป็นต้น ทำให้เกษตรกรไม่สามารถแยกแยะได้ว่ากรดชนิดใดเป็นกรดฟอร์มิคที่แท้จริง และจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไร ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ จึงได้จัดอบรมให้เกษตรกรทางภาคอีสาน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ วิธีการทดสอบกรดอย่างง่าย รวมทั้งหลักปฏิบัติที่ถูกต้องในการผลิตยางก้อนถ้วยเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ใช้ยาง
          ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา โทรศัพท์ 074 894307 หรือ website การยางแห่งประเทศไทย
 
เรื่อง/ภาพ : ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
t20170607094652_16849.jpg

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683