กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ >> ข่าวประชาสัมพันธ์

ภาพที่มองไม่เห็นของหน้ากรีด ปรับนิดเดียวผลตอบแทนมหาศาล เสริมความรู้ในการผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน GAP (29/06/60)


วันที่ 30 มิ.ย. 2560

t20170701000734_17563.jpg
ภาพที่ 1 ไม่ทำรอยแบ่งเส้นแบ่งกรีดครึ่งหลัง ส่งผลต่อผลผลิตลดลง
ภาพที่ 1 ไม่ทำรอยแบ่งเส้นแบ่งกรีดครึ่งหลัง ส่งผลต่อผลผลิตลดลง
           เป็นเรื่องที่เกษตรกรชาวสวนยางหลาย ๆ คนนึกไม่ถึงเลยว่า เส้นแบ่งกรีดหน้า-หลัง จะสำคัญขนาดนี้ ที่กรีดยางอยู่ทุกวันนี้ไม่เคยคาดคิดเลยว่าการ ไม่ทำรอยแบ่งครึ่งหน้า-หลัง รายได้ลดลงไร่ละนับพันบาท ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร (เดิม) ได้แนะนำให้เปิดกรีดเมื่อต้นยางมีเส้นรอบวง 50 เซนติเมตร โดยวัดจากความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน การเปิดหน้ากรีดแนะนำให้แบ่งหน้ากรีดแบบครึ่งต้น หรือ 2 หน้า แล้วกรีดแบบ 2 วันเว้น 1 วัน โดยส่วนใหญ่เกษตรกรมักลืมคำแนะนำหรืออาจไม่มีความเข้าใจหลักการว่าทำไมต้องแบ่งหน้ากรีด แต่การแบ่งหน้ากรีดเพื่อต้องการให้สามารถเก็บเกี่ยวน้ำยางให้ได้มากที่สุด สอดคล้องกับหลักปฏิบัติการผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน GAP ที่ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง ร่วมกันศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ สถาบันวิจัยยาง ได้จัดทำโครงการร่วมกันเพื่อเป็นหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือหลัก GAP และจากการลงพื้นที่ทางภาคอีสานพบว่าเกษตรกรโดยส่วนใหญ่ละเลยหลักปฏิบัติ ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตยาง จึงมีข้อปฏิบัติที่ควรกระทำและพึงระวังก่อนเปิดกรีดในฤดูกาลถัดไปโดยปฏิบัติต่อหน้ากรีด ดังนี้
 
การทำรอยแบ่งหน้ากรีด หน้า-หลัง
      1. ทำรอยแบ่งหน้ากรีดต้นยางออกเป็นสองส่วนหน้าและหลังที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 ซม. ให้มีความยาวลงมา 25 - 30 ซม. โดยให้มีร่องลึกไม่ให้บาดเนื้อไม้
      2. จรดมีดกรีดยางหรือวางมีดกรีด ให้เดือยของมีดกรีดอยู่กึ่งกลางรอยแบ่งครึ่งด้านหลัง
      3. ตะแคงมีดออกจากลำต้นเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ ตั้งมีดให้ตรง แล้วกระตุกมีดเข้าหาตัว ให้กินเปลือกไม้ความหนาไม่เกิน 2 มม. กระตุกมีดกรีดตามความยาวของหน้ากรีดทำมุม 30 องศา
 
      เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ทันที หากเส้นแบ่งรอยกรีดหน้า-หลัง มีระยะห่างโดยเฉลี่ย 25 ซม. การกรีดที่ห่างจากรอยแบ่งกรีดหลังระยะไม่ถึงเพียง 2 ซม. จะทำให้กรีดไม่ถึงท่อน้ำยาง หากคำนวณต้นยาง 1 ไร่ จะกรีดไม่ถึงเฉลี่ย 140 ซม. หรือไม่ได้กรีด 5.6 ต้น หรือไม่ได้น้ำหนักเนื้อยางแห้งปีละ 24 กิโลกรัม/ไร่ หากราคายางแห้งกิโลกรัมละ 50 บาท จะสูญเสียเงินไร่ละ 1,200 บาท/ปี สวนยางทั่วประเทศที่เปิดกรีดแล้วจำนวน 14 ล้านไร่ จะสูญเสียเงินไปปีละ 16,800 ล้านบาท เกษตรท่านใดหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีความประสงค์จะจัดทำการผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน GAP สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ และศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์
เรื่อง/ภาพ : ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
ภาพที่ 2 จรดมีดกรีดยาง ให้เดือยของมีดกรีดอยู่กึ่งกลางรอยแบ่งครึ่งด้านหลัง
ภาพที่ 2 จรดมีดกรีดยาง ให้เดือยของมีดกรีดอยู่กึ่งกลางรอยแบ่งครึ่งด้านหลัง
ภาพที่ 3 ตะแคงมีดออกจากลำต้นเล็กน้อย
ภาพที่ 3 ตะแคงมีดออกจากลำต้นเล็กน้อย
t20170630235910_17568.jpg

ภาพที่ 4 กรีดห่างจากรอยแบ่งกรีดหลังจะทำให้กรีดไม่ถึงท่อน้ำยาง

ภาพที่ 4 กรีดห่างจากรอยแบ่งกรีดหลังจะทำให้กรีดไม่ถึงท่อน้ำยาง

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683