กลับหน้าเว็บไซต์
|
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่ |
|
ใช้นโยบายในการจัดทำหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับสวนยางพารามาตรฐาน GAP กองจัดการสวนยาง การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง อ. นาบอน จ. นครศรีธรรมราช (4/2/62)
วันที่ 6 ก.พ. 2562
|
|
|
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง ได้ประชุมร่วมกันเพื่อรับฟังหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับสวนยางพารามาตรฐาน GAP ของกองจัดการสวนยางที่ 1 2 และ 3 โดยมีนายวิรัตน์ สิทธิชัย ผอ.กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง ดร.พิศมัย จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ นายประสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์ ผู้ช่วยผอ.เขตภาคใต้ตอนกลาง นายสมนึก รอดอุปการ หัวหน้ากองจัดการสวนยาง 1 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการพัฒนาให้ใช้วิธีการตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ผลผลิตที่คุ้มค่า ต่อการลงทุน และให้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน บนพื้นที่สวนยางที่กรีดยางได้ 8,050 ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 แผนก คือแผนกที่ 1 พื้นที่ 1,697 ไร่ แผนกที่ 2 พื้นที่ 3,599 ไร่ แผนกที่ 3 พื้นที่ 2,754 ไร่ มีต้นยางที่กรีดได้ 470,502 ต้น จำนวนต้นยางเฉลี่ย 58 ต้น/ไร่ มีคนกรีดยางทั้งหมด 436 คน ใช้ระบบกรีด 3 ระบบคือ 1. กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน จำนวน 1,325 ไร่ 2. กรีดหนึ่งส่วนสาม สองวันเว้นหนึ่งวัน จำนวน 4,700 ไร่ 3. กรีดแบบเก็บผลผลิตก่อนโค่น (ยางสอย) จำนวน 2,025 ไร่
ผลจากการหารือและลงแปลงสาธิตขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อทำความเข้าใจ โดยได้สาธิตการปรับเปลี่ยนการกรีด การแบ่งหน้ากรีด ชักร่อง ด้านหน้า และด้านหลัง ความยาว 30 เซนติเมตร การทำมุมที่ถูกต้อง ทำความสะอาดถ้วยยาง ลิ้นยาง แปลงยาง กำหนดให้มีหญ้าสูงได้ไม่เกิน 30 เซนติเมตร ต้องมีการกรองน้ำยางในสวนก่อนส่งโรงงานด้วยกรอง 40 เมท ทำความสะอาดของภาชนะเก็บน้ำยางต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง ระยะเวลาการกรีดและการเก็บน้ำยางส่งโรงงานต้องไม่เกิน 6 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบ คือมุมกรีดไม่ได้ 30 องศา กรีดบาดเป็นแผลเยอะ ถ้วยรองรับน้ำยางไม่สะอาด ไม่ได้ลอกขี้ยาง ลิ้นรองรับน้ำยางไม่สะอาด แปลงยางมีหญ้าสูงเกิน 30 เซนติเป็นบางจุด ไม่ได้กรองน้ำยางในสวนเนื่องจากไม่มีตัวกรอง ภาชนะเก็บน้ำยางในแปลงไม่ทำความสะอาดของขาดแหล่งน้ำ ระยะเวลาการกรีดและการเก็บน้ำยางส่งโรงงานเกิน 6 ชั่วโมงเนื่องจากกรีดยางหลายสวน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683 |