กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ >> ข่าวกิจกรรม

ตรวจสวนยางเกษตรแปลงใหญ่ อ. เวียงแก่น จ. เชียงราย มุ่งเน้นการจัดการสวนยาง GAP (16/02/62)


วันที่ 16 ก.พ. 2562

t20190216210009_30245.jpg
t20190216210015_30246.jpg
            วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 คณะ GAP จากสถาบันวิจัยยาง นำโดยนางพิศมัย จันทุมา นักวิชาการเกษตร 8(ว) นายพรอนันต์ หม่อมนวล นักวิชาการเกษตร 3 ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา และคณะ นายสุวิทย์ วงค์จักรคำ ผู้จัดการสหกรณ์เวียงแก่น จำกัด ลงพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่ 5 ต.หล่ายงาว อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เพื่อตรวจสวนยางเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อเตรียมรับกับการจัดทำหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับสวนยางมาตราฐาน GAP มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 21 ราย เป็นพันธุ์ RRIM 600 พื้นที่ 190 ไร่ พันธุ์ RRIT 251 พื้นที่ 20 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 210 ไร่ อายุเฉลี่ย 12 ปี จากการที่ได้ลงพื้นที่พบปัญหาคือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้น้ำกรดซัลฟูลริก ใช้ความเข้มข้นสูง จึงแนะนำให้ผสมกรดฟอร์มมิคเข้มข้นไม่เกิน 200 cc ต่อน้ำสะอาด 5 ลิตร มุมกรีดยังไม่ได้ 30 องศา ตามคำแนะนำ ยังไม่มีการชักร่องแบ่งเส้นด้านหน้าด้านหลังของรอยกรีด ไม่ควรเทน้ำเซรั่มบริเวณไกล้โคนต้นยาง ควรเทหรือสาดไปไกล ๆ ต้นยางในร่องยาง ปรับระยะระหว่างความยาวรอยกรีดถึงลิ้น 30 ซม. ระยะความยาวจากลิ้นถึงถ้วยยาง 15 ซม. ความสูงของรอยกรีดเมื่อขึ้นหน้าใหม่ควรเริ่มที่ระดับความสูง 150 ซม. หากความสูงเกิน 150 ซม. จากระดับพื้น แนะนำให้กรีดยางหน้าสูงอย่างระมัดระวัง การกรีดให้ลึกถึงเยื่อเจริญ แต่ไม่ควรกรีดยางหนาเกิน 2.5 มม. แนะนำจำนวนมีดกรีดไม่ควรเกินกว่า 4 มีดกรีด หลังจากที่ได้รับการแนะนำเพื่อเข้าสู่มาตราฐาน GAP ทางกลุ่มเกษตรกรมีเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อเตรียมรับการผลิตยางเครปที่มีคุณภาพมาตรฐาน GAP ต่อไป
 เรื่อง : พรอนันต์ หม่อมนวล ภาพ : จารุณี จำพานิชย์
t20190216210019_30248.jpg

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683