วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 คณะควบคุมปฏิบัติการ GAP นำโดย นางสาวรัชชุตา นรากรณ์ พนักงานวิทยาศาสตร์ 2 นางสาวคนพวรรณ ฝ่ายพนอม พนักงานวิทยาศาสตร์ 2 จากศูนย์บริการทศสอบรับรองภาคใต้ พร้อมด้วย นายพรอนันต์ หม่อมนวล นักวิชาการเกษตร 3 ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา นางสาวกัญดา ติ้งเพ็ง นักวิชาการเกษตร 3 นายธนรัฐ หิรัญ พนักงานการเกษตร 2 จากสำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา ลงพื้นที่สวนยางของกองจัดการสวนยาง 1 แผนกผลิต 1 หมู่ 2,3 เขตควนสวรรค์ อ. นาบอน จ. นครศรีธรรมราช โดยมีนายนาวี แดง บรรจง นักวิชาการเกษตร 5 กองจัดการสวนยาง 1 ให้การสนับสนุนประสานงานพื้นที่ ตรวจประเมินครั้งที่ 2 จำนวน 21 แปลง พันธุ์ RRIM 600 จำนวน 360 ไร่ คิดเป็นต้นยางกรีดได้ 18,749 ต้น จากการเข้าประเมินครั้งแรกจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากหน้ากรีดเตี้ยมีความสูงของรอยกรีดจากพื้นดินเพียง 20-30 ซม.ซึ่งจะต้องรอขึ้นหน้ากรีดใหม่ช่วงเปิดกรีดเดือนเมษายน 2562 จึงให้คำแนะนำการเปิดกรีดหน้าใหม่ให้ปฏิบัติดังนี้
1. เปิดกรีดใหม่ที่ความสูงจากระดับพื้นดิน 150 ซม.
2. มุมกรีดที่ 30 องศา
3. ทำเส้นแบ่งหน้าหลัง 30 ซม.
4. กรีดเปลือกหนาไม่เกิน 2 มม.
5. กรีดไม่บาด
6. ลิ้นรองรับน้ำยางต้องสะอาด
7. ถังเก็บน้ำยางต้องสะอาด
8 . ถ้วยรองรับน้ำยางต้องสะอาด
9. ลวดรัดต้นยางไม่ชำรุด
10. กรีดยางหลังเที่ยงคืน
11. กรองน้ำยางในสวน
12. กำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน
13. ระยะห่างระหว่างรอยกรีดถึงลิ้นยาง 30 ซม
14. ระยะห่างระหว่างถ้วยรองรับน้ำยางกับลิ้นยาง 15 ซม.
อย่างไรก็ตามได้ตั้งเป้าตามหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับสวนยางพารามาตรฐาน GAP กองจัดการสวนยาง 1 การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง จำนวน 3,000ไร่ ในการเพิ่มผลผลิตที่ได้คุณภาพ เพื่อยกระดับการจัดการแปลงกรีด การจัดการน้ำยางสวนยางพารามาตรฐาน GAP ต่อไป
เรื่อง : นายพรอนันต์ หม่อมนวล นายธนรัฐ หิรัญ
ภาพ : นางสาวกัญดา ติ้งเพ็ง |