กลับหน้าเว็บไซต์
|
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่ |
|
เร่งดำเนินการ สวนยางพารามาตรฐาน GAP กองจัดการสวนยาง 2 ตำบลกรุงหยัน อ. ทุ่งใหญ่ จ. นครศรีธรรมราช กยท.เขตใต้กลาง (4/4/2562)
วันที่ 5 เม.ย. 2562
|
|
|
วันที่ 4 เมษายน 2562 คณะควบคุมปฏิบัติการ GAP นำโดย นายพรอนันต์ หม่อมนวล นักวิชาการเกษตร 3 นางอรนรินทร์ พรหมมา พนักงานการเกษตร นางสาวจารุณี จำพานิชย์ พนักงานการเกษตร จากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา นางสาวรัชชุตา นรากรณ์ พนักงานวิทยาศาสตร์ 2 นางสาวคนพวรรณ ฝ่ายพนอม พนักงานวิทยาศาสตร์ 2 จากศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ นางสมสิริ เหล็กเพช็ร พนักงานการเกษตร 2 สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่กองจัดการสวนยาง 2 แผนกผลิต 3 หมู่ 1 2 และ 3 เขตคลองสังข์ โดยมีนายโสภณ หมื่นรักษ์ หัวหน้าแผนกผลิต 5 ปฏิบัติการแทนหัวหน้ากองจัดการสวน 2 นายเสรี โสพรรณรัตน์ นักวิชาการเกษตร 5 หัวหน้าแผนกผลิต 3 นายประเวศ คงอุป พนักงานการเกษตร 5 หัวหน้าหมู่ 1 นายสุวิทย์ เจียรมาศ นักวิชาการเกษตร 3 หัวหน้าหมู่ 2 นายเฉลียว รักร่วม นักวิชาการเกษตร 5 หัวหน้าหมู่ 3 กองจัดการสวนยาง 2 ให้การสนับสนุนประสานงาน ให้คำแนะนำครั้งที่ 1 จำนวน 107 แปลง พันธุ์ RRIM 600 จำนวน 2,787 ไร่ ต้นยางกรีดได้ 66,174 ต้น จากการลงพื้นที่พบว่าเริ่มมีการเปิดกรีดหน้ายางวันที่ 1 เมษายน 2562 จึงได้ให้คำแนะนำหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับสวนยางพารามาตรฐาน GAP สภาพแปลงกรีดยางต้องไม่รก ระยะห่างระหว่างรอยกรีดถึงลิ้นยาง 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างลิ้นยางกับถ้วยรับรองน้ำยาง 15 เซนติเมตร การแบ่งหน้ากรีดแบ่งครึ่งลำต้นหรือ 1 ใน 3 ของลำต้น จำนวนวันหยุดกรีด 2 พัก 1 กรีดหน้ายางไม่บาด ทำเส้นแบ่งครึ่งรอยกรีดหน้าหลัง ทำระดับมุมกรีดให้ได้ 30 องศา กรีดเปลือกไม่หนาเกิน 2 มิลลิเมตร กรีดให้ถึงท่อน้ำยาง ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ สภาพมีดกรีดยางต้องคม ช่วงเวลากรีดจนถึงเก็บน้ำยางและส่งโรงงานภายใน 6 ซม ลิ้นและถ้วยรองรับน้ำยางสะอาด ถังเก็บน้ำยางสะอาด ต้องกรองน้ำยางในสวน ภาชนะ ในการกรองต้องสะอาดไม่ใส่สารเคมีรักษาสภาพยาง เส้นลวดต้องไม่ชำรุด ภาชนะรวบรวมก่อนจำหน่ายต้องสะอาด ปัญหาที่พบพื้นที่แปลงกรีดยางส่วนใหญ่ไม่มีการกำจัดวัชพืช รกมากซึ่งอาจทำให้คนกรีดยางจะได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษได้ พบต้นยางมีอาการเปลือกแห้งเป็นจำนวนมาก เส้นทางเข้าแปลงกรีดยางและขนส่งน้ำยางทุรกันดาร
ตั้งเป้าตามหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับสวนยางพารามาตรฐาน GAP กองจัดการสวนยาง 2 การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง จำนวน 12,414 ไร่ ในการเพิ่มผลผลิตที่ได้คุณภาพ เพื่อยกระดับการจัดการแปลงกรีด การจัดการน้ำยางสวนยางพารามาตรฐาน GAP ต่อไป
เรื่อง : รัชชุตา นรากรณ์ พรอนันต์ หม่อนนวล
ภาพ : คนพวรรณ ฝ่ายพนอม อรนรินทร์ พรหมมา จารุณี จำพาณิชย์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683 |