การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2565 ประเภทบุคคลภายใน พนักงานและลูกจ้างของ กยท. และประเภทบุคคลภายนอกองค์กร ณ ห้องประชุมกันตัง การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อ 15 16 ก.ย.2565
นายพิสิษฐ สุขอนันต์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ ได้รับมอบหมายให้ เป็นประธานมอบรางวัลการประกวด นวัตกรรรมด้านยางพารา ปี 2565 ที่ห้องประชุมกันตัง การยางแห่งประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการพิจารณาตัดสิน ระหว่างวันที่ 15 16 ก.ย.65 จำนวน 223 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมที่ห้องประชุมกันตัง 165 คน ผ่านระบบ video conference 58 คน ทั้งนี้ สถาบันวิจัยยาง (สวย.) กยท. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2565 ในระดับต่างๆ แบ่งเป็น รางวัลกรอบแนวคิด และรางวัลสิ่งประดิษฐ์ สำหรับพนักงานและลูกจ้างของ กยท. รางวัลสิ่งประดิษฐ์สำหรับบุคคลภายนอก ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับบุคคลทั่วไป ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา ระดับอาจารย์และนักวิจัย การประกวดแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1. ด้านต้นน้ำ 2. ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ
สำหรับผลการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา (บุคคลภายนอก) ประกอบด้วย 1.รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น(ด้านต้นน้ำ) มีดกรีดยางพาราแบบกลไก (มีดกรีดยางอินทรี) ของนายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำพันชาดรุ่งเรืองกสิกิจ รองชนะเลิศอันดับ 1 มีดกรีดยาง กรีดได้ไว หน้าเรียบ สามารถผลิตได้เองอย่างง่ายใช้ได้จริง ของนายสงสัย แซมสีม่วง
2. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) เสื้อชูชีพจากยางพารา ของนางนพมาศ พรหมศิลป์ รองชนะเลิศอันดับ1 ถาดเพาะชำที่ทำมาจากเศษขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับขยะพลาสติกเหลือทิ้ง ของนายธวัชชัย อริยะสุทธิ และนายชัยวัฒน์ สิงห์ทอง รองชนะเลิศอันดับ 2 ถาดเพาะชำที่ทำมาจากเศษขี้เลื่อยไม้ยางและน้ำยางพารา ของนายธวัชชัย อริยะสุทธิ และนายชัยวัฒน์ สิงห์ทอง
3. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ด้านต้นน้ำ) การพัฒนาอุปกรณ์ประคองข้อมือ ลดการกดทับเส้นประสาทมีเดียน ขณะกรีดยาง สำหรับเกษตรกรสวนยางพาราที่เสริมด้วยแผ่นแปะจากสารสกัดโกศจุฬาลัมพาและใบพลู ของนายภูวเวช ศักดิ์ภิรมย์ นายพฤกษ์พิพัฒน์ ชูรัตน์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 การพัฒนาเครื่องผสมน้ำยางพาราและกรดฟอร์มิก สำหรับผลิตยางก้อนถ้วย ของ ด.ญ.ญาณิศา เพ็ชรรัตน์ ด.ญ.ปภาวรินทร์ สงบ ด.ญ.กัญญาภัทร อธิบดิ์พงศธร ด.ญ.กัญญาพัชร ดิลกคุณธรรม ด.ช.ธนกฤต ทิวาพัฒน์ โรงเรียนเทิงวิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 2 ระบบควบคุมการเพาะชำพันธุ์ยางพาราด้วย IoT ของนายอดิศร จันอาจ นายอภิสิทธิ์ พลศรี นายธีรยุทธ์ บรรจงคิด น.ส.ฐิตวันต์ ทิพรักชา น.ส.ปิยธิดา ไทยเกิด วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ
4. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) การพัฒนานวัตกรรมแท่งเชื้อเพลิงจากเขม่าดำที่เหลือจากกระบวนการไพโรไลซิสขยะยางล้อรถ เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแหล่งพลังงานในโรงงานไฟฟ้าทดแทนการใช้ถ่านหิน ของนายชิติภัทร คงทองวัฒนา นายนฤพัฒน์ ยาใจ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 นวัตกรรมหลังคาป้องกันแสงยูวีและผลิตความร้อนจาก Nitrogen - doped graphene quantum dots (N-GQDs) สำหรับโรงเรือนอบแผ่นยางต้นแบบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ของ น.ส.สิริยา เมฆทวีพงศ์ น.ส.วัลลภา ภัทรพุทธิกุล โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี รองชนะเลิศอันดับ 2 วัสดุลอกลายพิมพ์นิ้วมือและสกัดดีเอ็นเอจากวัสดุท้องถิ่น ของ น.ส.สริตา วิมาเณย์ น.ส.เปรมกมล พลแก้ว น.ศ.พิมพ์ชนก บุตรวงค์ โรงเรียนอนุกูลนารี
5. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ ) เบาะรองนั่งลดแผลกดทับจากฟองน้ำยางธรรมชาติ สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดผ่านทางทวารหนัก ของ น.ส.อนุธิดา สุวรรณ น.ส.เสาวนิจ บัวบางกรูด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 กล่องบรรจุภัณฑ์เคลือบน้ำยางธรรมชาติเพื่อยืดอายุการสุกของผลไม้ ของ น.ส.อัจฉริยาพร ฤาชัย น.ส.พลอยไพลิน แก้วคำ น.ส.บุษบา สุทธิประภา น.ส.ธิดาวรรณ เติบโต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
6. รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับอาจารย์หรือนักวิจัย (ด้านต้นน้ำ) ไม่มีรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 การพัฒนาต้นแบบไบโอเซนเซอร์ สำหรับใช้ตรวจวัดหาปริมาณของแอมโมเนียมไอออนในตัวอย่างน้ำยางข้น ของ รศ.ดร.อัญชลี สำเภา น.ส.ปรียานุช บุตรมี ผศ.ดร.ศราวุธ ประเสริฐศรี นายสายชล พิมพ์มงคล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองชนะเลิศอันดับ 2 เครื่องตรวจวัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางสดแบบอัจฉริยะ โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับแก๊สไฮโดรเจน ของนายกรวิช แก้วดี นายอนุพงษ์ รัฐิรมย์ น.ส.ศันศนีย์ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
7. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับอาจารย์หรือนักวิจัย (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ ) ชั้นรองพื้นทางบดอัดจากกากขี้แป้งยางผสมซีเมนต์และกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ของ ผศ.ณิชาภา มินาบูลย์ ผศ.สุธน รุ่งเรือง อ.พิทยา สุขจินดา อ.ประพัฒน์ สีใส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ทุ่นลอยน้ำกั้นแนวจากฟองน้ำยางธรรมชาติ ของ รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 2 บล็อกประสานผสมน้ำยางพาราเสริมกำลังด้วยเส้นใยทะลายปาล์ม ของ อ.พีระพงษ์ เพชรพันธ์ ผศ.สุธน รุ่งเรือง ผศ.ณิชาภา มินาบูลย์ อ.ประพัฒน์ สีใส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
สำหรับการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา (บุคคลภายในองค์กร) มีผลประกวดรางวัล ดังนี้ 1.รางวัลชนะเลิศประเภทกรอบแนวคิด (ด้านต้นน้ำ) การใช้งานระบบสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ของนายภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์ น.ส.ตรีชฎา ยกส้าน ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร รองชนะเลิศอันดับ 1 การใช้ระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการบริหารจัดการโซ่อุปทาน ของ นายวิญญู โครมกระโทก กองวิจัย เศรษฐกิจยาง ฝ่ายเศรษฐกิจยาง รองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมและธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพารา ของนายภานุพงศ์ ชูสิงห์แค นายกนกศักดิ์ บุญเกื้อสง กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง
2. รางวัลชนะเลิศประเภทกรอบแนวคิด (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) Agri Biz แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ของ น.ส.นันทิกา ปางจุติ สำนักผู้ว่าการ รองชนะเลิศอันดับ 1 การบริหารจัดการตลาดกลางไม้ยางพารา ของนายศุภวัฒน์ บัวสุข น.ส.ปานไพลิน แป้นจันทร์ กองพัฒนาตลาดยางพารา รองชนะเลิศอันดับ 2 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำยางสดที่จัดเก็บระยะเวลา 1 เดือน ของนายสานิตย์ แก้ววังสัน นางจีรนัย หอมเกตุ น.ส.ศริลักษณ์ สวัสดิวงศ์ นายกมล แสงแก้ว หน่วยธุรกิจ
3. รางวัลชนะเลิศประภทสิ่งประดิษฐ์ (ด้านต้นน้ำ) การจำแนกพันธุ์ยางพาราด้วยการประมวลผลรูปภาพ ของ ดร.วิทยา พรหมมี ผศ.ดร.ภารุจ รัตนวรพันธุ์ น.ส.ปนัดฐา พงษ์สมทร น.ส.สุรีรัตน์ คงเพชรศักดิ์ กองวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง รองชนะเลิศอันดับ 1 โปรแกรม Web App บริหารจัดการทรัพย์สิน Ro-at@ (โรแอด) ของนายถาวร มาแก้ว น.ส.สุธาทิพย์ จิตตรีศิลป์ กองจัดการทรัพย์สิน รองชนะเลิศอันดับ 2 ระบบฐานข้อมูลถ่ายทอด เทคโนโลยี ของ น.ส.ศรมน โกศลจันทรยนต์ นายวรรธนัย รัตนชัดเจน ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
4. รางวัลชนะเลิศประเภทสิ่งประดิษฐ์ (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) หุ่นจำลองส่วนหัวจากยางพาราเพื่อฝึกหัดทำหัตถการจักษุ ของ นายวรพงษ์ พูลสวัสดิ์ น.ส.ราตรี สีสุข น.ส.เมตตา สุขเจริญ นายวีระชัย เก่าบ้านใหม่ พ.ท.หญิง พ.ญ.นฤมล แก้วโรจน์ กองวิจัยอุตสาหกรรม ฝ่ายอุตสาหกรรมยาง รองชนะเลิศอันดับ 1 การปรับปรุงคุณสมบัติของเบาะโฟมยางพาราด้วยแอนติโมนีไตรออกไซด์สำหรับหน่วงไฟและ ต้านเชื้อแบคทีเรีย E.coli ของ นายคมกฤษ คิดการ กยท.จ.ขอนแก่น รองชนะเลิศอันดับ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มความเข้มข้นจากยางธรรมชาติด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค ของ นายสถาพร หลาบเงิน กยท.จ.สกลนคร
"การจัดกิจกรรมประกวดนวัตกรรมด้านยางพาราในปี 2565 นี้ กยท.มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมด้านยางพารา โดยเปิดเวทีให้ผู้เข้าประกวด จะทำให้ผู้เข้าประกวดได้ผลิตผลงานเพื่อสร้างนวัตกรรมและพัฒนายางพาราและ นำไปกำหนดประเด็นวิจัยให้ทุนสนับสนุนและพัฒนาชิ้นงาน รวมทั้งนำนวัตกรรมเหล่านี้ไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เป็นการเสริมสร้างศักยภาพด้านความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมประกวดในการนำผลงานไปต่อยอดผลงานที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไปอีกด้วย ผอ.สผว.กล่าว
ทีมข่าวประชาสัมพันธ์ กยท.