กยท.ร่วมมือ FSCTM Asia Pacific จัด “Connecting Markets with Forests”ระหว่าง 28 – 29 พ.ย.65

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้กล่าวต้อนรับและปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา Forest Stewardship Council Asia Pacific Business Forum 2022 "Connecting Markets with Forests” ซึ่งเป็นความร่วมมือส่งเสริมด้านการรับรองมาตรฐาน FSCTM แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และตลาดไม้ยางพาราระหว่างประเทศ ณ โรงแรมอวานี สุขุมวิท กรุงเทพฯ เมื่อ 28 พ.ย.65 ตามคำเชิญจาก FSCTM Asia Pacific ในฐานะที่ กยท.เป็นผู้ถือใบอนุญาตผู้ส่งเสริม FSCTM เลขที่ FSCTMN003489 และ กยท.ยังร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ร่วมกับ WWF ประเทศไทย และ FSCTM จำนวน 80 คน ณ พื้นที่จังหวัดระยอง ในวันที่ 29 พ.ย.65 ด้วย
 
ผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์ Climate Change ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนำมาเชื่อมโยงไว้กับกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดในโลกยุคใหม่ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการด้านความยั่งยืนเป็นสำคัญ เนื่องจากประชากร 1 ใน 3 อยู่ในภาคเกษตร และยังมีภาคอุตสาหกรรมเป็นระบบเก่าใช้พลังงานฟอสซิล ที่อาจถูกมาตรการกีดกันทางการค้าจากสหภาพยุโรป ดังนั้น กยท. ในฐานะองค์กรกลางในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบของไทย จึงให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ผ่าน 3 โครงการ คือ 1. โครงการ FSCTM มีการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการสวนยางที่ดีอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน FSCTM เพื่อให้ผู้ปลูกยางมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสวนยางของตนเองให้ได้มาตรฐาน 2. โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา โดย กยท.ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนมาตรการ Zero Carbon ในภาคการเกษตร พัฒนาสวนยางพาราให้เป็น Carbon Nagative ให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2573 และในปี 2593 3. โครงการ Rubber way เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ใช้ยางกับประเทศผู้ผลิตยาง ได้รับการสนับสนุนจากผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลก 2 บริษัท คือ มิชลิน และคอนทิเนนทัล ร่วมวิเคราะห์ความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทานยาง และส่งเสริมเกษตรกรทำสวนยางอย่างยั่งยืน ภายใต้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการยืนยันการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ผลการประเมินที่ผ่านมา สวนยางที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับดีเยี่ยม "
 
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับอุตสาหกรรมยางพารา แต่ไทยก็ต้องเผชิญความต่างด้านมาตรฐานสากลและวัฒนธรรม เช่น ในวัฒนธรรมไทย เด็กๆ ต้องช่วยเหลืองานครอบครัว เป็นต้น ซึ่งขัดกับการใช้แรงงานเด็กในมาตรฐานสากล จึงต้องสร้างความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมกับมาตรฐานสากล เพื่อสร้างรูปแบบการประเมินที่เหมาะสม ทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ยาง เพื่อก้าวข้ามไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีร่วมกันต่อไป” นายณกรณ์กล่าว
 
ทีมประชาสัมพันธ์ กยท.
« Back