เมื่อวานนี้ ( 29 ต.ค. 67) Ministry of Agriculture, rural development and food production -- การยางแห่งประเทศไทย นำโดย ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และคณะผู้แทนฝ่ายไทย เข้าเยี่ยมคารวะ Mr. KOBENAN KOUASSI ADJOUMANI รัฐมนตรีว่ากระทรวงฯ พร้อมด้วยประธานสมาคมผู้ประกอบอาชีพด้านยางธรรมชาติประเทศโกตดิวัวร์ (APROMAC) และประธานกองทุนสหวิชาชีพเพื่อการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านการเกษตร (FIRCA) ร่วมเจรจาความร่วมมือของ 2 ประเทศในฐานะผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลกอย่างเป็นรูปธรรม
Mr. KOBENAN KOUASSI ADJOUMANI รัฐมนตรีว่ากระทรวงฯ Ministry of Agriculture, rural development and food production กล่าวว่า การที่มีชาวต่างชาติเข้ามาประเทศโกตดิวัวร์นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานทุกภาคส่วนที่ดูแลและเกี่ยวข้องกับยางพาราจากประเทศไทยไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้มาร่วมงาน Natural Rubber Days และมาเยือนประเทศโกตดิวัวร์ ตลอดจนศึกษาดูงาน และพร้อมที่จะร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรด้านยางพาราให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงนโยบายการสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านยางพาราระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบัน การดำเนินงานด้านยางพารามีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โกตดิวัวร์ มีความพยายามให้เกิดการดำเนินการภายใต้หน่วยงานหลัก อย่างไรก็ตาม หวังว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานระหว่าง 2 ประเทศ และเกิดเป็นความร่วมมือในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่หน่วยงานทั้ง 2 องค์กรจะร่วมมือกัน โดยในนามของกระทรวงเกษตรฯ สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ยินดีที่จะไปเยือนกระทรวงเกษตรฯ ของประเทศไทยตามคำเชิญ และยินดีให้การต้อนรับรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ของไทยในการมาเยือนโกตดิวัวร์เช่นกัน
ดร.เพิก กล่าวว่า การมาเยือน โกตดิวัวร์ ครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีในการสร้างความร่วมมือด้านยางพาราระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกำหนดราคายางของโลก เนื่องจากไทยและโกตดิวัวร์มีฐานะเป็นประเทศผู้ผลิตยางเช่นเดียวกัน ซึ่งมีความหวังว่าทั้ง 2 ประเทศจะสามารถร่วมกันกำหนดราคายางได้ หลังจากมีความพยายามในเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน และเชื่อมั่นว่าโกตดิวัวร์เป็นประเทศพันธมิตรที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านยางพาราให้เกิดความสำเร็จ และเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยของทั้ง 2 ประเทศ ในการยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมกับสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพชาวสวนยางอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ไม่สำคัญว่าประเทศใดเป็นที่ 1 ของโลกด้านยางพารา แต่สิ่งสำคัญคือความร่วมมือและการเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันในระยะยาวต่อไป
Mr.Chales- Emmanuel YACE ประธานกรรมการ APROMAC กล่าวว่า ในฐานะองค์กรด้านยางพาราของประเทศโกตดิวัวร์ ขอขอบคุณประเทศไทยสำหรับความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากรด้านยางพาราร่วมกัน รวมถึงการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับยางพารา ในเรื่อง งานวิจัยด้านพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคอื่นๆ ในประเทศโกตดิวัวร์ เช่น ถนนยางพารา เป็นต้น
"กยท. พร้อมมุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมือในครั้งนี้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับให้ยางพาราเป็นพืชการเกษตรที่มีมูลค่าสูง รองรับกับมาตรฐานสากล และเพิ่มโอกาสทางการค้าของยางพาราไทยสู่ระดับโลก ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ว่า เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน ดร.เพิก กล่าวทิ้งท้าย
ทีมข่าวประชาสัมพันธ์ กยท.