ข้อมูลทั่วไป

การยางแห่งประเทศไทย Rubber Authority of Thailand
          ความหมายตราสัญลักษณ์ เส้นรอบวง เปรียบเสมือนต้นยางเป็นรอบวงปี แสดงถึงความเจริญเติบโต ภายในมีต้นยางพาราซึ่งมีความสำคัญที่สุดแทนองค์กรการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รอยกรีด 3 รอยแสดงถึงกระบวนการผลผลิตของยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และการรวมของ 3 องค์กร การออกแบบ ประกอบด้วยหยอดน้ำยางสีขาววางอยู่กลางปลายหยดน้ำยางรองรับจากรอยกรีด สอดแทรกด้วยลายกนกแสดงถึงเอกลักษณ์ไทยคล้ายดอกบัวแย้ม กลีบใบแสดงถึงการบริหารองค์กร กยท. ในรูปแบบยุติธรรม โปร่งใส บูรณาการระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพาราโดยมี กยท. เป็นตัวกลาง ตาม พ.ร.บ การยางแห่งประเทศไทย 2558 และหยดน้ำยางสีทองวางซ้อน หมายถึง รายได้ความมั่นคง ความเจริญ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยภาพรวมกราฟิกของ ตราสัญลักษณ์  นี้แสดงถึง การเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตการแปรรูปขั้นต้น แปรรูปขั้นกลาง เป็นผลิตภัณฑ์ยางอุตสาหกรรมและการตลาดเพื่อให้เกษตรกรมีกำไรมั่งคง และการเพิ่มมูลค่ายางพาราของไทยด้วยการให้บริการเป็นเลิศ ทั้งยังเสริมสร้างสังคมชาวสวนยางสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
ความเป็นมา
 
          การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เกิดจากการรวม 3หน่วย ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยางและสถาบันวิจัยยาง โดยมีพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 มีวัตถุประสงค์ให้การยางแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับเงินของกองทุน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนา เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับยางพาราและดำเนินการให้ระดับราคายางมีเสถียรภาพ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้มีการปลูกแทนและการปลูกใหม่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง ด้านวิชาการ การเงิน การผลิต การแปรรูป การอุตสาหกรรม การตลาด การประกอบธุรกิจและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น บริหารงานโดยคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย มีผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหารสูงสุด
 
 
วิสัยทัศน์ (Vision)
 
"บริหารยางพาราเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”
 
 
ค่านิยมองค์กร

Rules = ถูกต้องตามกฎเกณฑ์
Unity = เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
Be Innovation = สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
Beyond service = ใส่ใจการให้บริการ
Expertise = เชี่ยวชาญงานในหน้าที่
Responsibility = มีความรับผิดชอบ
 
 
พันธกิจ (Mission)
 
          บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รองรับการเป็นองค์กรชั้นนำด้านยางพาราระดับโลก โดยจำแนก พันธกิจเป็น 6 ด้าน ดังนี้
1. ประเทศ สนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า นวัตกรรมยางอย่าง ยั่งยืน
2.ประชาชน และผู้บริโภค สร้างการรับรูคุณค่าของการใช้ยางธรรมชาติต่อประชาชน และผู้บริโภค
3. เกษตรกรชาวสวนยาง ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4. สถาบันเกษตรกร สร้างความเข้มแข็ง และมีการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมืออาชีพ
5. ผู้ประกอบกิจการยาง ส่งเสริมการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
6. องค์กร บริหารจัดการองค์กรให้มีความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้น เป็นองค์กรแห่งความรู้ และมีสมรรถนะสูง โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และหลักธรรมาภิบาล

 
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการสวนยาง และการแปรรูปยางอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนมาตรฐานแหล่งผลิตและสินค้ายาง
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมยางอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1 สนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมยาง
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้เกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ในเชิงพาณิชย์และสังคม
กลยุทธ์ที่ 3 จัดตั้งเครือข่ายนักวิจัยด้านยางพารา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสู่องค์กรแห่งความรู้ที่มีสมรรถนะสูง (KO&HPO)
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีขีดความสามารถสูง
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาเป็นองค์กรดิจิทัล และองค์กรแห่งความรู้
ลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กลยุทธ์ที่ 4 บริหารจัดการองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มความมั่นคงทางการเงินแก่องค์กร
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างและพัฒนาธุรกิจองค์กรให้มีศักยภาพแข่งขันในระดับสากล
กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งออกยาง
กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลัง 
« Back